ประกาศรับสมัครโครงการวิจัยแพทยศาสตรศึกษา ประจำปี 2560

กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท) มอบหมายให้เครือข่ายวิจัยกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (MedResNet) ให้เป็นองค์กรกลางในการบริหารงานและสนับสนุนให้เกิดงานวิจัยด้านแพทยศาสตรศึกษา พัฒนาการเรียนการสอนในคณะแพทย์ ทันต่อสถานการณ์ และการเลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อผลิตแพทย์ให้เป็นบุคลากรด้านสาธารณสุขที่มีคุณภาพ

เครือข่ายวิจัยกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (MedResNet) ประกาศรับสมัครโครงการวิจัยแพทยศาสตรศึกษา ประจำปี 2560 ที่สอดคล้องกับความต้องการในการผลิตแพทย์ที่มีคุณภาพ ช่วยพัฒนาระบบการศึกษาของแพทย์ปัจจุบัน เปิดรับสมัครโครงการวิจัยแพทยศาสตรศึกษา ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2560

กรอบงานวิจัยที่เปิดรับสมัคร

ประเภทแผนการวิจัย ประเด็นงานวิจัย
1. Curriculum development (1.1) หลักสูตรการศึกษาทั่วไป (general education) สำหรับนักศึกษาแพทย์ปี 1 ที่เหมาะสมสำหรับหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของประเทศไทยควรเป็นอย่างไร
(1.2) เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภาควรเป็นอย่างไร เพื่อเป็นเครื่องกำหนดหลักสูตรและการประเมินผลที่จะนำไปสู่การเตรียมความพร้อมให้บัณฑิตแพทย์ทำงานในโรงพยาบาลชุมชนได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของชุมชน
(1.3) เกณฑ์มาตรฐานของแพทยสภาที่กำหนดสมรรถนะความสามารถของแพทย์มีความเหมาะสมต่อการเป็นแพทย์ในสังคมปัจจุบันและอนาคตควรอย่างไร เพียงใด
(1.4) การออกแบบหลักสูตรและรายวิชา (curriculum design and course design) สำหรับการเรียนที่มีชุมชนเป็นฐาน (community-based education) ควรเป็นอย่างไร
(1.5) การออกแบบหลักสูตรและรายวิชา (curriculum design and course design) สำหรับการเรียนรู้ระหว่างวิชาชีพ (inter-professional education) ควรเป็นอย่างไร
(1.6) การเรียนที่มีชุมชนเป็นฐาน (community-based education) ที่ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้วเกิดผลลัพธ์อย่างไรบ้างในเชิงศักยภาพความสามารถของบัณฑิตแพทย์ มีส่วนใดที่เป็นจุดแข็งและมีส่วนใดที่ควรพัฒนาเพิ่มขึ้น และส่วนใดที่ขาดหายไป รวมถึงความสอดคล้องของผลลัพธ์กับการประเมินผลโดยในเชิงสอบ ศรว. เป็นอย่างไร และความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตเป็นอย่างไร
2. National license examination (2.1) ที่ผ่านมาการสอบเพื่อประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (national license examination) มีส่วนในการกระตุ้นการเรียนของนักศึกษาแพทย์ แต่ยังเป็นมิติเรื่ององค์ความรู้เป็นหลัก จึงควรจะมีการประเมินความรู้ความสามารถนักศึกษาแพทย์อย่างไร เพื่อให้มั่นใจว่านักศึกษาแพทย์จะสามารถออกไปปฏิบัติหน้าที่ในฐานะแพทย์ได้จริง
(2.2) การประเมินผลความรู้ความสามารถของบัณฑิตแพทย์สามารถบอกถึงความพร้อมจะออกไปปฏิบัติหน้าที่จริงได้มากน้อยเพียงใด
(2.3) ผลสอบเพื่อการประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (national license examination) ที่ผ่านมามีข้อบ่งชี้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียนแพทย์อะไรบ้าง
3. Instructional design (3.1) รูปแบบสื่อการสอนใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในยุคปัจจุบันควรเป็นอย่างไร
4. Competency (4.1) บัณฑิตที่จบออกมายังขาดความรู้ความสามารถ (training needs) ในการปฏิบัติงานในระบบสุขภาพในส่วนใดบ้าง และจะปรับหลักสูตรและการเรียนการสอนให้สอดคล้องได้อย่างไรต่อไป
(4.2) หลักสูตรแพทย์ต้องการบัณฑิตแพทย์ที่ดีและเก่ง ที่ผ่านมามีกระบวนการวัดความเก่งได้พอสมควรแล้ว แต่ที่ยังขาดการประเมินที่ชัดเจนคือการวัดการเป็นแพทย์ที่ดี กระบวนการวัดการเป็นแพทย์ที่ดี (ethic and professionalism) ควรเป็นอย่างไร
(4.3) สมรรถนะที่สังคมเชื่อมั่นว่าบัณฑิตแพทย์ต้องทำได้ (entrusted professional activities -EPAs) ที่เป็นทั้ง ทักษะหัตถการ (procedural skills) และ สมรรถนะในการประกอบวิชาชีพ (professional competencies) มีอะไรบ้าง
5. Learning environment (5.1) การสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ (learning environment) ที่เป็นอยู่จริงมีรูปแบบอย่างไรบ้าง เพราะแม้ว่าจะมีการระบุการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ในเกณฑ์หรือข้อกำหนดหลายแหล่ง เช่น เกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นต้น แต่ไม่เคยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจน
6. Institute management (6.1) ต้นทุนการผลิตแพทย์ในประเทศไทยในปัจจุบันเป็นเท่าไหร่

 

คุณสมบัติผู้รับทุน

  1. เป็นอาจารย์ หรือนักวิจัย หรือนักวิชาการ ที่ทำงานสังกัดสถาบันหรือคณะแพทยศาสตร์ในกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย
  2. สามารถดำเนินงานวิจัยได้สำเร็จลุล่วงตามระยะเวลาโครงการ รวมทั้งประสานงานร่วมกับ ผู้ใช้ประโยชน์จากการวิจัย เพื่อผลักดันผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์

การยื่นโครงร่างการวิจัยเพื่อขอรับทุน

  1. ผู้มีความประสงค์ขอรับทุนวิจัย สามารถส่งโครงร่างงานวิจัยได้โดยตรงทาง http://meded.thaimedresnet.org/register_meded
  2. หัวหน้าโครงการวิจัย สามารถส่งข้อเสนอโครงการได้ไม่เกิน 2 โครงการ
  3. การกำหนดงบประมาณของโครงการและหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินสนับสนุน ให้เป็นไปตามระเบียบของโครงการวิจัยแพทยศาสตรศึกษา กสพท ( MedResNet_ คู่มือการบริหารจัดการงานวิจัย 2558 , เกณฑ์การตั้งงบประมาณ)

การพิจารณาอนุมัติโครงร่างการวิจัย

  1. การพิจารณาอนุมัติโครงร่างการวิจัย จะพิจารณาตามขอบเขตของโครงการ และทิศทางที่เป็นไปตามกรอบงานวิจัยที่กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยกำหนดไว้ รวมถึงพิจารณาศักยภาพ และความน่าเชื้อถือของนักวิจัย
  2. การพิจารณาโครงการ ดำเนินการโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิวิชาการและพิจารณางานวิจัยแพทยศาสตรศึกษา โดยมีเกณฑ์การพิจารณา ได้แก่

1) ความสำคัญเชิงนโยบาย และเชิงปฎิบัติของคำถามวิจัย ความชัดเจนของการนำไปใช้ประโยชน์ ความคิดคิเริ่ม ความซ้ำซ้อน ความสามารถของผลการวิจัยที่จะนำไปพัฒนาแพทยศาสตรศึกษาของประเทศไทย

2) การออกแบบและวิธีการวิจัย สามาถตอบคำถามงานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมคำถามงานวิจัยได้ทั้งหมด และมีความถูกต้อง เหมาะสมทั้งในเชิงปริมาณและเวลา

3) ความสามารถในการทำให้งานวิจัยประสบความสำเร็จ ทั้งในด้านของประสบการณ์ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญคณะนักวิจัยและที่ปรึกษาโครงการ

กำหนดระยะเวลาดำเนินการ

ลำดับที่ กิจกรรม/ขั้นตอน ระยะเวลา
1 ประชาสัมพันธ์เปิดรับสมัคร และยื่นโครงร่างวิจัยเพื่อขอรับทุน 27 มีนาคม 2560 – 31 พฤษภาคม 2560
2 คณะกรรมการวิจัยแพทยศาสตรศึกษา กสพท คัดเลือกงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุน 1 มิถุนายน 2560 – 16 มิถุนายน 2560
3 เวทีนำเสนอโครงร่างวิจัย ให้ข้อเสนอแนะปรับปรุงโครงร่างวิจัย และงบประมาณ ประมาณ 26-30 มิถุนายน 2560
4 นักวิจัยปรับปรุงโครงร่างวิจัย 26 มิถุนายน 2560 – 16 กรกฎาคม 2560
5 ดำเนินการทำสัญญาข้อตกลง เดือนกรกฎาคม 2560
6 ดำเนินการโครงการวิจัย ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2560 เป็นต้นไป

 

การสมัครรับทุน

ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียด และสมัครได้ที่ >> http://meded.thaimedresnet.org/register_meded

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  นางสาวสิเรียม ตูมไทย

โทร: 062-875-7626 หรือ 02-940-5181 ต่อ 722

e-mail: Siriam@thaimedresnet.org

Facebook-page: แพทยศาสตรศึกษา โดย กสพท. @ThaiRIME

รายละเอียด การเขียนโครงร่างงานวิจัย การบริหารโครงการ และเกณฑ์การตั้งงบประมาณโครงการ

          อ่านรายละเอียด และ ดาวน์โหลดคู่มือได้ที่ >> MedResNet_คู่มือการบริหารจัดการงานวิจัย 2558

ดาวน์โหลดเกณฑ์การตั้งงบประมาณโครงการ >> MedResNet_เกณฑ์การตั้งงบประมาณ


วิธีการส่งข้อเสนอโครงการ

ไปที่หน้ารับสมัคร http://meded.thaimedresnet.org/register_meded

  1. กรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม ส่งโครงการวิจัยแพทยศาสตรศึกษา ตามที่กำหนดให้ครบถ้วน (ข้อมูลต้องตรงกับในไฟล์ proposal)
  2. คลิก ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม โครงร่างการวิจัยแพทยศาสตรศึกษา >> Full proposal_MedEd,2017
  3. คลิก เลือกไฟล์ เพื่อแนบโครงร่างวิจัยที่เติมข้อมูลครบถ้วนแล้ว (โดยตั้งชื่อไฟล์  >> ชื่อนักวิจัย_MedEd,2017)
  4. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลติดต่อนักวิจัย เบอร์โทร และอีเมลล์
  5. คลิก ยืนยันการสมัครรับทุน
  6. รออีเมลล์ตอบกลับ

(MedResNet ขอสงวนสิทธิรับพิจารณาเฉพาะโครงร่างการวิจัยที่มีรายละเอียดครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่กำหนดไว้เท่านั้น)

ส่งโครงร่างงานวิจัย

2017-04-07T14:21:43+00:00